ไขตัวตนและที่มา ทำไมจึงต้องเป็น วินเทจ

           วินเทจ การดำเนินชีวิตของคนเราย่อมต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับความเจริญที่เพิ่มขึ้น เพื่อเส้นทางที่จะข้ามไปวันข้างหน้าหลายครั้งก็ต้องยอมตัดใจวางสิ่งที่ล้าหลังเอาไว้ อย่างเช่น การเปลี่ยนรูปแบบเครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในมุมหนึ่งเราก็มองว่าการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ย่อมทำให้ชีวิตสะดวกขึ้น แต่ในมุมกลับกันสิ่งของที่หยุดการใช้งานกลับดูไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ ประโยชน์สูงสุดที่พอจะรับได้คงเป็นอนุสรณ์บางอย่างจาก สมัยเก่า ที่เก็บเอาไว้บอกเล่าให้คนรุ่นใหม่ฟังเท่านั้น

                แต่หลายปีก่อนหน้านี้กลับมีความนิยมที่จะนำสิ่งของซึ่งเคยตกยุคไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องแต่งกายจำพวกเสื้อผ้าและเครื่องประดับ จนเมื่อมีการส่งต่อความนิยมนี้ออกไปในวงกว้าง แนวคิดการนำเอาของเก่ามาใช้ใหม่อีกครั้งจึงได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็กลายเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งที่เรียกว่าวินเทจหากเราได้ยินคำเรียกนี้ที่ไหนก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเสื้อผ้า ยานพาหนะ ของใช้จุกจิกบางอย่างที่เคยความนิยมกลับมาใช้ใหม่ แต่มีคำถามเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ว่าทำไมคำเรียกนี้จึงทรงอิทธิพลนัก เราควรจะลองหาคำตอบดูสักหน่อยดีกว่า  

วินเทจ

การเป็น วินเทจ ต้องใช้เวลาบ่มเพาะ

            เล่ากันว่าความหมายที่แท้จริงของ วินเทจ นั้นไม่ได้แปลว่าโบราณหรือเก่าแก่ตามภาพสะท้อนที่เราเห็นด้วยตาเปล่า แต่เป็นทับศัพท์มาจากคำว่า Vintage ที่หมายถึงการบ่มไวน์ ซึ่งสำหรับผู้ที่ดื่มไวน์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะรู้กันดีว่าเครื่องดื่มที่ให้รสชาติล้ำลึกและพิเศษที่สุดจะต้องใช้เวลาหมักบ่มนานหน่อย และด้วยเหตุนี้เมื่อมีกระแสด้านแฟชั่นที่จะนำเครื่องแต่งกายยุคเก่ากลับมาใส่ใหม่ จึงได้จำกัดนิยามของความนิยมนี้เอาไว้ในคำว่า Vintage นั่นเอง

                ซึ่งหากจะตีความให้เห็นชัดขึ้นก็คือสิ่งของที่อนุมานว่าเป็น Vintage ได้นั้นต้องผ่านเวลาเก็บรักษามาแล้วในช่วง 20-70 ปีโดยประมาณ เมื่อได้ผ่านกาลเวลามาพอสมควรแล้วจะทำให้สิ่งของนั้นเพิ่มคุณค่าขึ้นมาในตัวเอง ในเชิงการค้าสามารถนำมาต่อรองราคาได้เพราะมูลค่าซื้อขายสูง จึงไม่แปลกที่จะมีกลุ่มนักสะสมของเก่ากระจายตัวอยู่ทั่วไป เพราะสิ่งของเรานั้นมีคุณค่าทางใจสำหรับคนที่ชื่นชอบ และสามารถแสดงถึงรสนิยมแฟชั่นของผู้สะสมผ่านสิ่งของเหล่านั้นได้

Vintage ไม่ใช่ของมือสองเสมอไป

            ว่าด้วยนิยามของ Vintage แล้วเราจึงอาจจะเข้าใจแบบรวม ๆ ได้ว่าน่าจะเป็นสิ่งของที่ผ่านการใช้งานมาแล้วในอดีตแล้วนำกลับมาใช้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่าจริงและเป็นสินค้าส่วนใหญ่ของทั้งหมดที่ถูกส่งออกมาบนพื้นที่ตลาด แต่อย่าลืมว่าสิ่งของที่อยู่ในขอบเขตนิยาม Vintage นั้นคือสิ่งของที่ผ่านระยะเวลาตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปอาจจะเป็นของที่ยังไม่เปิดใช้งานก็ได้ เป็นของที่ถูกผลิตออกมาแล้วยังตกค้างอยู่ไม่ได้จำหน่ายออกไปก็ได้ หากไปดูตามตลาดขายของ Vintage อาจจะพบของที่ผ่านการใช้งานมาแล้วปะปนกันกับของใหม่แกะกล่องแต่สภาพการใช้งานอาจไม่สมบูรณ์เพราะมีอายุการผลิตนานแล้วก็ย่อมได้ ดังนั้น เราจึงพูดแบบเต็มคำไม่ได้ว่าสินค้า Vintage เป็นของมือสองทั้งหมดนั่นอง

วินเทจ

สินค้า Vintage ที่ผู้คนให้ความนิยม

            เมื่อเราเข้าใจกันดีแล้วว่าสินค้ากลุ่ม Vintage เป็นสิ่งของที่ต้องผ่านเวลามาแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่อะไรเพียงอย่างเดียว สำหรับคนที่นิยมความวินเทจเป็นปกติอยู่แล้วคงทราบดีว่าควรสะสมอะไร แต่สำหรับคนที่อยากจะลองสะสมความ Vintage ดูบ้างควรจะเริ่มต้นอย่างไร ซึ่งเราก็จะแนะนำให้ว่าเริ่มจากสิ่งของที่สนใจก่อนเป็นอย่างแรก โดยรายการสินค้าที่เราพอจะหาซื้อก็มีหลายอย่างที่น่าสนใจ แต่จะมีอะไรบ้างนั้นต้องสำรวจตลาดดูเสียหน่อย

                1. กางเกง ซึ่งกางเกงที่บ่งบอกความเป็น Vintage นั้นสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าจะมีสีสัน รูปทรง และการออกแบบที่ต่างจากปัจจุบันชัดเจน เช่น กางเกงขาม้า กางเกงทรงลุง กางเกงลายดอกไม้ เป็นต้น เป็นสินค้าที่ซื้อหาได้ง่ายที่สุดและมีราคาที่จับต้องได้ สามารถประยุกต์ให้เขากับการแต่งตัวยุคใหม่ได้

            2. เสื้อ Oversize การสวมเสื้อที่ใหญ่เกินขนาดร่างกายอาจถูกมองว่าเป็นอะไรที่แปลก แต่ช่วงหนึ่งของยุคเก่าเคยเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น และแน่นอนว่าในเวลานี้ก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกแล้วนอกจากจะให้ Feeling ในแง่ของแฟชั่นแล้วเสื้อ Oversize ยังช่วยพลางรูปร่างได้ และเป็นสินค้าที่ราคาไม่แพง

            3. รองเท้าหนัง เป็นสินค้าในกลุ่มเครื่องแต่งกายที่ไม่ได้ถือว่าตกยุคเสียทีเดียว เพราะในปัจจุบันก็ยังมีการจำหน่ายรองเท้าหนังอยู่ แต่เพราะเป็นเครื่องแต่งกายที่ยุคเก่าอาจจะจำกัดเพศผู้สวมใส่ เมื่อได้รับความนิยมจากปัจจุบันที่มองว่าเป็น Item ทางแฟชั่นอันทรงเสน่ห์ สามารถปรับเข้ากับการแต่งตัวของทุกเพศได้ จึงเป็นที่ต้องการของผู้ชื่นชอบ Vintage ในขณะนี้นั่นเอง

                4. ผ้าโพกผม ถ้าเราเคยชมภาพยนตร์ย้อนยุคก็คงจะเห็นว่าหนึ่งในการแต่งกายของผู้คนมักจะนำผ้าโพกผมมาใช้ด้วย เป็น Item การแต่งกายที่เคยได้รับความนิยมในยุคก่อนหน้านี้ พอกระแสของ Vintage ตีวงกว้างขึ้นผ้าโพกผมที่เคยเงียบหายไปก็กลับมาในพื้นที่ตลาดอีกครั้ง

                5. ของตกแต่งบ้าน สินค้าในกลุ่มนี้ครอบคลุมไปตั้งแต่ของชิ้นเล็กอย่างโปสเตอร์ติดผนังไปจนถึงของชิ้นใหญ่จำพวกเฟอร์นิเจอร์กันเลยทีเดียว ซึ่งของตกแต่งที่มีลักษณะ Vintage เราสามารถพบได้มากตามร้านอาหารหรือร้านกาแฟบางแห่ง แต่ถ้าต้องการนำมาตกแต่งไว้ภายในบ้านก็สามารถซื้อได้ตามแหล่งขายของ Vintage ได้เช่นกัน

วินเทจไม่ใช่ความโบราณแต่เป็นวันวานที่หวนคืนมา

                บทสรุปของเรื่องราว วินเทจ ในวันนี้จึงจำกัดใจความได้ว่า ไม่ใช่เพียงการใส่กางเกงขาม้าเดินไปเดินมา หรือแค่มีเฟอร์นิเจอร์เก่าอายุ 30 ปีวางอยู่ในบ้านก็จบงานได้ เพราะแก่นหัวใจของความเป็น Vintage คือการยังมองเห็นคุณค่าสิ่งของชิ้นเก่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่รู้สึกเขินอาย ดังจะเห็นได้จากคนรุ่นใหม่กล้านำเสื้อผ้าของคนยุคเก่ามาใส่ให้ดูมีมิติด้านแฟชั่นได้ จึงพูดได้ว่า Vintage ไม่ใช่แค่คำพูดเท่ ๆ แต่เป็นจิตใจที่มองเห็นคุณค่าสิ่งของนั่นเอง Ufabet เว็บหลัก

https://images.shopspotter.in.th/wp-content/uploads/2020/06/22132153/5ebc4f84b3ddddff856b8ccc0eaec863.jpg

https://www.forfur.com/img/I46/l_4586_14128432591647867587.jpg

ไขตัวตนและที่มา ทำไมจึงต้องเป็น วินเทจ

Credit by : Ufabet

หมวดหมู่