การเดินทางของ เครื่องประดับ ชุด ไทย จากยุคเก่าสู่ยุคใหม่

                เครื่องประดับ ชุด ไทย แต่ละแผ่นดินก็จะมีเรื่องราวส่งต่อกันมาตั้งแต่ครั้งเก่าก่อนเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งแวดล้อมและแนวคิดของผู้คนย่อมมีการปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา จึงทำให้ไม่สามารถยกเอาเรื่องราวทั้งหมดในอดีตมาวางไว้ในปัจจุบันได้ แต่ก็ยังคงเหลือแก่นสำคัญที่ยกนำมาอ้างอิงได้ การส่งต่อที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้ง่ายที่สุดก็ต้องเป็นเรื่องของศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยเรานั้นก็ถือว่าเป็นแหล่งรวมศิลปะวิจิตรเอาไว้หลายแขนง ที่ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของแผ่นดินไทยเลย แม้จะรับเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นเข้ามาผสมผสานอยู่บ้าง ทำให้ศิลปะวัฒนธรรมแบบไทยดั้งเดิมปรับประยุกต์ไปตามเวลา แต่จุดยืนของ ศิลปะไทย ก็ยังดำรงอยู่ โดยฝังตัวอยู่กับสถาปัตยกรรม การปรุงอาหาร เครื่องแต่งกาย ยังไม่ได้หายไป

                งานศิลป์แบบไทยที่มักจะถูกอวยยศอยู่เสมอและยังคงมีให้พบเห็นเป็นประจำคงต้องยกให้ เครื่องประดับ ชุดไทย ซึ่งเราจะพบตัวอย่างผู้สวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ได้จากงานมหรสพ งานแสดงนาฏศิลป์ ละคร-ภาพยนตร์ เพราะการจะแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยอาภรณ์และเครื่องประดับแบบตระการตาในยุคนี้ต้องรอโอกาสพิเศษ  ไม่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องปกติแน่นอน ในครั้งนี้จึงสนใจอยากนำเรื่องราวของเครื่องประดับที่กำเนิดมาจากบรรพบุรุษชนชาติไทยมาพูดคุยกันเสียหน่อย

เครื่องประดับ ชุด ไทย

ศิลปะและยุคสมัยของแผ่นดินไทย

                ก่อนที่เราจะไปเข้าเรื่องของ เครื่องประดับ ชุดไทย เราจำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่าเครื่องประดับแบบไทยนั้นมีรูปแบบเปลี่ยนไปตามอิทธิพลเชิงศิลปะของแต่ละยุคสมัย หากมองผิวเผินดูเหมือนกันไปหมด แต่ถ้าพินิจให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่ามีรายละเอียดของศิลปะต่างกันไปตามช่วงเวลาการปกครอง โดยยุคการปกครองใหญ่ ๆ ที่ผ่านมานั้นแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ จึงพอจะอ้างอิงได้ว่า เอกลักษณ์ไทย ที่ติดปากเราอยู่เป็นประจำนั้นสั่งสมเวลามานานทีเดียว กว่าจะกลายมาเป็นงานศิลป์รูปธรรมที่เหลือเอาไว้ให้เราได้ศึกษาเรียนรู้กันอย่างทุกวันนี้

เครื่องประดับ ชุด ไทย สมัยสุโขทัย

            ประวัติศาสตร์ยุคสุโขทัยนั้นแม้จะมีการค้นพบและบันทึกเอาไว้ประมาณหนึ่ง จึงพอจับใจความได้ว่าเครื่องประดับที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของแผ่นดินใกล้เคียงอย่างละโว้และมอญเป็นส่วนใหญ่ โดยวัฒนธรรมที่ว่านี้ก็รับแนวคิดมาจากอินเดียอีกที แล้วนำมาผนวกเข้ากับแนวคิดของคนพื้นถิ่น แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เครื่องประดับนั้นจะอาศัยนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์เป็นลวดลายศิลปะบนเครื่องประดับ วัสดุที่นำมาใช้จะเป็นทอง เงิน ร่วมกับการประดับอัญมณี 7 สี อีกทั้งยังมีการใช้เทคนิคถมยาเพื่อเพิ่มมิติให้เครื่องประดับอีกด้วย

                 เครื่องประดับที่ค้นพบในช่วงการปกครองสมัยสุโขทัย ได้แก่ เทริด รัดเกล้า สร้อยคอ กำไลแขน กำไลขา แหวน ปิ่นปักผม และแหวน เครื่องประดับเอกลักษณ์สุโขทัยต้องยกให้เทริดเป็นตัวเอก โดยเป็นเครื่องสวมประดับศีรษะคล้ายชฎาแต่มีทรงเตี้ยผู้สวมใส่คือเทวรูปกับกษัตริย์ แต่ในยุคปัจจุบันเราสามารถพบเทริดได้จากการแสดงมโนราห์ของภาคใต้ หากเราเคยชมการแสดงนาฎศิลป์แนวสุโขทัยเครื่องทรงของผู้แสดงคือเครื่องประดับสมัยสุโขทัยที่เราไล่เลียงมาตอนต้นนั่นเอง

เครื่องประดับ ชุดไทย สมัยอยุธยา

            หากนับเวลาตามช่วงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาถือว่าค่อนข้างยาวนาน จึงมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ในช่วงแรกของสมัยการปกครองพื้นฐานเครื่องประดับยังคงยึดอิทธิพลของอินเดียแบบที่เคยมีในสมัยสุโขทัยอยู่ แต่ในช่วงกลางของการปกครองชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในแผ่นดินสมัยอยุธยา การสร้างเครื่องประดับจึงรับแนวคิดของตะวันตกมาใช้ เพื่อปรับรูปแบบเครื่องดับให้มีความแปลกใหม่รวมถึงการรับเทคนิคการสร้างชิ้นงานมาประยุกต์ใช้    เครื่องประดับในสมัยอยุธยายังเกี่ยวพันกับความเชื่อของสมมติเทพ ดังนั้นเครื่องประดับที่ผลิตออกมาจึงมีความวิจิตรมาก เพื่อแสดงถึงความสมเกียรติของผู้สวมใส่ โดยเครื่องประดับที่ดูวิจิตรส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นมาเพื่อกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และขุนนาง แต่สำหรับประชาชนทั่วไปจะรับสิทธิ์ในการสวมเครื่องประดับตามข้อกำหนดเท่านั้น วัสดุที่นำมาใช้ผลิตเครื่องประดับในสมัยอยุธยาจะใช้ทองคำเป็นหลัก แต่อาจจะมีชิ้นงานที่เป็นโลหะเคลือบทองหรือเงินผสมมาด้วย

เครื่องประดับ ชุด ไทย

เครื่องประดับ ชุดไทย สมัยรัตนโกสินทร์

            รูปแบบเครื่องประดับที่ถูกผลิตขึ้นในยุครัตนโกสินทร์นั้น เป็นช่วงเวลาที่ผันเปลี่ยนอย่างมากก็ว่าได้ เพราะอิทธิพลจากชาติตะวันตกเข้ามาอิทธิพลในแผ่นดินไทยมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้หากจะรับเอาวัฒนธรรมและศิลปะแบบอย่างตะวันตกเข้ามาใช้ในไทย เครื่องประดับช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดรูปแบบตามสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาเครื่องประดับแบบไทยโบราณถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับสมัยมากขึ้น แนวคิดการสร้างเครื่องดับแนววิจิตรนั้นก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่แวดวงของราชวงศ์และขุนนางต่อไป ส่วนประชาชนทั่วไปก็สามารถสวมเครื่องประดับได้ตามอัธยาศัย เพียงแต่ต้องสวมให้เข้ากับโอกาส เน้นความมีกาลเทศะเป็นหลัก

                เราจึงจะเห็นได้ว่าในยุครัตนโกสินทร์ปัจจุบันการสวมเครื่องประดับค่อนข้างมีความสากล เครื่องประดับแบบสมัยสุโขทัยกับอยุธยาจึงถูกจัดเป็นเครื่องทรงโบราณที่จะหยิบมาสวมใส่ตามพิธีสำคัญเท่านั้น ผู้คนในช่วงเวลาปัจจุบันจึงนิยมสวมทองรูปพรรณ เครื่องเงินชิ้นเล็ก รวมถึงสร้อย แหวน กำไล เข็มกลัดที่ประดับอัญมณี เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีราคาให้เลือกตามกำลังทรัพย์ อีกทั้งวัสดุที่ใช้ก็ไม่จำกัดอยู่แค่ทองคำ ประชาชนทั่วไปจึงเลือกสวมใส่ได้ตามความสะดวกใจ

จุดร่วมของเครื่องประดับไทยทุกสมัย

            พอเก็บรายละเอียดข้อมูลแต่ละยุคสมัยมาแล้ว จุดร่วมที่เด่นชัดของการสร้างเครื่องประดับแต่ละยุคสมัยคือความพิถีพิถันในการสร้างชิ้นงาน และการเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ เอกลักษณ์สำคัญของไทยที่เราเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือความละเอียดยิบย่อยของชั้นงาน นับเป็นงานฝีมือที่ต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี แม้ว่าเครื่องประดับในยุคปัจจุบันจะปรับรูปแบบไปมาก และสามารถนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ในการผลิต แต่สุดท้ายแล้วก็ยังต้องใช้บุคลากรที่ชำนาญในการควบคุมอยู่ดี จึงจะได้ชิ้นงานแสนงดงามออกมาสู่สายตาพวกเรา

รากฐานมั่นคงย่อมต่อยอดได้ยาวไกล

                การผลิต เครื่องประดับ ชุดไทย อันวิจิตรสะกดสายตาของเรานั้น ต่างก็เกิดมาจากพื้นฐานการสร้างงานศิลปะแบบไทยที่ละเอียดอ่อน พิถีพิถัน และไม่ว่าจะเป็นงานที่ยึดแบบตามหลักโบราณหรือนำมาประยุกต์ให้ทันสมัยมากขึ้น สุดท้ายแล้วชิ้นงานที่สร้างสรรค์ออกมาก็ยังสะท้อนแก่นสำคัญที่แสดงถึงความเป็นฝีมือคนไทยอยู่เสมอ Ufabet เว็บหลัก

https://www.matichonacademy.com/wp-content/uploads/2021/02/IMG_0147.jpg

https://www.matichonacademy.com/wp-content/uploads/2021/02/IMG_0145.jpg

การเดินทางของ เครื่องประดับ ชุด ไทย จากยุคเก่าสู่ยุคใหม่

Credit by : Ufabet

หมวดหมู่